Re: Hello…Mr. Armed – Messiah
สืบเนื่องจาก บทความเรื่อง "Hello…Mr. Armed – Messiah"
ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยกับความคิดของคุณปราชญ์ เจ้าของบทความนะครับ แต่อยากจะขอคิดต่าง
ต้นกำเนิดของประชาธิปไตยอาจจะมาจากมุมใดมุมหนึ่งของโลก ผ่านการพัฒนา เปลี่ยนแปลงมาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมื่อมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผ่นดินประเทศไทย จึงต้องถามว่า สิ่งที่สยามประเทศรับมา เป็น "ชื่อ" ประชาธิปไตย หรือ "แนวคิด" เรื่องประชาธิปไตย? คนทั่วไป "รู้จัก" และ "เข้าใจ" ประชาธิปไตย มากน้อยเพียงไร?
นับตั้งแต่ปี 2475 ที่ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนระบอบการปกครอง บางสิ่งเปลี่ยนแปลง บางสิ่งยังคงอยู่
สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ "อำนาจอธิปไตย" ที่กลายมาเป็นของปวงชน แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ "การใช้อำนาจอธิปไตย"
คนไทยไม่เคยชินกับการใช้ "อำนาจอธิปไตย" จึงคอยแต่จะยกอำนาจนั้นให้แก่ "ผู้ปกครอง" อยู่ร่ำไป
"ประชาธิปไตย" มิได้เกิดขึ้นมาลอยๆ หากแต่เกิดขึ้นมาเพราะคนเรา "เชื่อ" ว่าเราสามารถปกครองตนเองได้ ความเชื่อนี้กฎหมายบังคับให้เชื่อไม่ได้นะครับ หากคนจำนวนมากไม่ได้เชื่อเช่นนี้ ต่อให้รัฐธรรมนูญบัญญัติอย่างไรก็มิอาจเป็นประชาธิปไตยได้
แม้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะมีอยู่ว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน" แต่ด้วยความเขลาเบาปัญญาของผม จึงมิอาจทราบได้ว่า แล้วในความเป็นจริงที่มิได้อยู่ในกฎหมาย "บุคคล" แต่ละคน "เสมอกัน" หรือไม่? แต่จะขอสมมติไปพลางๆ ก่อนว่า ไม่เสมอกัน
ผมเดาว่า คนไทยจำนวนมากไม่รู้สึกว่า คนเราทุกคนล้วนแล้วแต่ "เสมอกัน" และ "เท่าเทียมกัน" เมื่อไม่เคยปกครองตนเอง ก็ไม่รู้จะปกครองตนเองอย่างไร ซ้ำร้ายกว่านั้น บางทีคนไทยอาจจะไม่เชื่อว่า เราปกครองตนเองได้ ดังนั้น คนไทยอาจจะรู้จักประชาธิปไตยดีก็ได้ แต่เมื่อไม่เชื่อว่า คนเราปกครองตนเองได้ และ "ต้อง" ปกครองตัวเอง คนไทยจึงพอใจที่จะให้คนอื่นเอาอำนาจของตนเองไปใช้มากกว่า ตราบใดที่ยังมีข้าวกิน ไข่ยังราคาเท่าเดิม ใครจะกุมอำนาจในรัฐบาลก็ช่างหัวมัน เพราะนี่คือ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" คนไทยทำอะไรง่ายๆ สบายๆ อยู่แล้ว
ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่า "การรอคอยเมสไซอาห์ทางการเมืองการปกครอง" ที่คุณปราชญ์พูดถึงนั้น มิได้เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่คงอยู่มายาวนานจนกลายเป็นความเคยชินของคนไทยไป คนไทยรอ "เมสไซอาห์" มานานแล้ว และจะยังคงรอต่อไป
คนไทยไม่ได้งอมืองอเท้านะครับ แต่คนไทยเป็น "คนช่างฝัน" ต่างหาก
ที่คุณปราชญ์สรุปว่า "ผมเชื่อว่าเมสไซอาห์ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นตัวตนของเราแต่ละคนเอง กระบวนการตรวจสอบทางการเมืองที่เข้มแข็งที่สุดไม่ใช่ศาลหรือองค์กรใดใด หากแต่เป็นตัวประชาชนที่มีความรู้และความเข้าใจในสิทธิ์ที่ตนมี สามารถบริหารใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องล้าสมัยที่ทำให้ดูราวกับว่าเรากำลังอาศัยอยู่ในบ้านป่าเมืองเถื่อนนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นมาอีก" ผมขอยกสองมือเห็นด้วย แต่คำถามสำคัญก็คือ แล้วต้องทำอย่างไร คนไทยจึงจะเชื่อว่า เราสามารถปกครองตนเองได้ หรือ "เมสไซอาห์ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นตัวตนของเราแต่ละคนเอง"
หรือว่าต้องรอ "เมสไซอาห์" จุติลงมาบอกอีก...
8 Comments:
ไม่ยาวเท่าของคุณปราชญ์ แต่มึนพอกันเลย
อธิบายเรื่องที่คอมเม้นต์ไว้ให้ฟังหน่อยสิคุณ..
จริงๆแล้วต้องเป็น พระแมสสิยาห์ สิคุณโหม่งเม้งงง
คุณคงอ่านนิธิ สุดสัปดาห์มามากสินะ
วัฒนธรรม และ วัฒนธรรม
"เมื่อไม่เคยปกครองตนเอง ก็ไม่รู้จะปกครองตนเองอย่างไร ซ้ำร้ายกว่านั้น บางทีคนไทยอาจจะไม่เชื่อว่า เราปกครองตนเองได้"
ชุมชนทางการเมืองมันมีโครงสร้างเดียวแยกส่วนง่ายๆระหว่างรัฐกับสังคม
เหรอวะ
ราวกับว่า หากส่วนกลางท่านไม่ให้อำนาจอธิปไตย สังคมหรือสิ่งที่เรียกเอากันว่า "ประซาซน"จะอยู่กันไม่ได้ ต้องพึ่งพิงจากบนสู่ล่าง เป็นความสัมพันธ์แบบทางเดียว
ถ้าเชื่อตามโครงสร้างนี้(แบบที่อยู่ในแบบเรียนซึ่งเป็นผลผลิตของศูนย์กลางอำนาจอีกที)แล้วก่อนหน้าที่จะมีรัฐ คนแถวนี้เขาอยู่กันยังไง(วะ)
มันอาจจะสวนทางกันก็ได้นะ(ถ้ามึงเชื่อเรื่อง "วัฒนธรรม"แบบที่พยายามเขียนอยู่) ท้องถิ่น(คำนี้ก็เพิ่งถูกสร้างมาไม่นาน)หรืออะไรก็ตามที่น้อยและย่อยกว่า"ประเทศ" เค้าก็จัดการชีวิตรวมหมู่(อาจเป็นการเมืองในปัจจุบัน)กันเอง เมื่อส่วนกลางพยายามรวบรัดเป็น รัฐหมัยไหม่ อันนี้มั้งที่เข้าไปอาละวาดรื้อหลายๆอย่างทิ้งแล้วสร้างแบบส่วนกลางครอบไว้
เกรงว่า "เมื่อไม่เคยปกครองตนเอง ก็ไม่รู้จะปกครองตนเองอย่างไร ซ้ำร้ายกว่านั้น บางทีคนไทยอาจจะไม่เชื่อว่า เราปกครองตนเองได้" จะเป็นการ"เดา"จากฐานของความเชื่อ(ตามแบบเรียน)ว่า "รัฐ"เท่านั้นที่เป็นใหญ่โดดๆและดิบๆ
ไม่โรแมนติกเอาเสียเลย
ที่ผมเขียนว่า "ปกครองตนเอง" ผมกำลังหมายถึง "ระดับชาติ"ไม่ได้หมายถึงระดับที่อยู่ล่างลงไป
เพราะในส่วนของ "ชุมชน" หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สุดจะเรียก class differentiation ไม่เคยเกิดขึ้น ในชุมชนนั้น ไม่เคยมีใครรู้สึกว่า ตนเป็น "ผู้ปกครอง" หรือ "ผู้ใต้ปกครอง" ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปในระดับประเทศ
แม้ไม่มีรัฐ "ประซาซนตาดำๆ" ก็คงอยู่กันได้จริงอย่างที่คุณว่า แต่เมื่อมีรัฐ "ประซาซนตาดำๆ" ก็ยังอยากจะอยู่กันแบบเดิม อำนาจอธิปไตย (ถ้ามีจริง)ก็ถูกโยนออกไปจากตัว พร้อมกับคำสบถเล็กๆ ว่า "มึงจะทำอะไรก็ทำ แต่อย่าให้มาเดือดร้อนกู"
ไม่โรแมนติกจริงๆ ด้วย
คราวที่แล้วไม่ได้ตั้งใจอ่าน..
"ตราบใดที่ยังมีข้าวกิน ไข่ยังราคาเท่าเดิม ใครจะกุมอำนาจในรัฐบาลก็ช่างหัวมัน เพราะนี่คือ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ"
ก็จริงนะ
เพราะแม้แต่ในหมู่ชุมชนก็ยังหาคนร่วมแสดงความคิดและแก้ปัญหาร่วมกันได้ยากเลย เพราะถือว่า ไม่ใช่เรื่องของเราก็ไม่ยุ่ง ไม่ก็ปัดเรื่องให้พ้นตัวซะ
หลายๆครั้งที่เราต่างก็รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่ก็ไม่มีใครอยากจะออกมาแสดงสิทธิหรือปกป้องผลประโยชน์ของคนหมู่มาก เพราะตัวอย่างจากบางกรณีทำให้เห็นว่าทำแบบนั้นแล้วกลายเป็นคนที่สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง และเลือกที่จะก้มหน้ารับสิ่งที่เป็นอยู่ต่อไป
ตราบใดที่เรายังคงได้ผลประโยชน์ตามที่ตัวเองพึงพอใจ
คุณโหม่ง.. เชื่อจริงหรือเชื่อแบบกัดฟันคะ ทำให้ดูหน่อย..
คุณโหม่งไป bye nior มั้ย???
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home